โรคทางตา (Eye disease)  คือความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นกับตา หรือดวงตาและอาจส่งผลถึงการมองเห็นได้ 

ตา  เป็นอวัยวะที่อยู่บนใบหน้า มีเป็นคู่ (ซ้าย ขวา) มีหน้าที่สำคัญ คือ การมองเห็น  และยังช่วยสมอง,หูชั้นใน เกี่ยวกับการทรงตัวและเป็นส่วนหนึ่งของความสวยงาม

 ตา  ประกอบด้วยเนื้อเยื้อหลายชนิด เช่น หนังตา ขนตา เยื้อบุตา กระจกตา จอตา แก้วตา ผนังลูกตาชั้นกลาง และประสาทตา 

โรคตา  เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ในทุกอายุ ไปจนถึงเด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุโดยพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตา

อาจเกิดจากสาเหตุเดียว หรือเกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย คือ

  • อายุ  อายุที่สูงขึ้น จะพบโรคตาบางชนิดที่เกิดจากการเสื่อมลงของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น ซึ่่งรวมถึงเนื้อเยื้อของลูกตา เช่น สายตายาวในผู้สูงอายุ  ต้อกระจก  ต้อหิน และ โรควุ้นในตาเสื่อม เป็นต้น
  • การติดเชื่อ อาจเกิดจาการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย  เช่น โรคตาแดงจากไวรัส ตากุ้งยิง ริดสีดวงที่ตา
  • จากการได้รับแสงแดดจัดเรื้อรัง  เช่น ผู้ที่มีอาชีททำงานกลางแจ้ง ซึ่งโรคตาที่พบได้บ่อยในภาวะนี้ คือ ต้อลม/ต้อเนื้อ ต้อกระจก
  • โรคความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย (Metabolic syndrome) เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม  เช่น โรคตาบอดสี โรคตาขี้เกียจ โรคต้อหิน ตาบอดกลางคืน สายตาผิดปกติที่เกิดจากการหักเหของแสงในเด็ก ตาเข/ตาเหล่ในเด็ก
  • จากการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะการขาดวิตามิน A เช่น ตาบอดกลางคืน
  • โรคออโตอิมมูน  เช่น โรคพังผืดที่จอตา
  • โรคมะเร็งของดวงตา เช่น โรคตาวาว (โรคมะเร็งตาในเด็ก)
  • อุบัติเหตุ 
  • อื่นๆ เช่นโรคที่มาจากคอมพิวเตอร์ สารเคมีเข้าตา โรคเนื้องอกในสมองที่ส่งผลให้เกิด ตาเข/ตาเหล่

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตา

  • ยิ่งอายุสูงขึ้น ยิ่งทำให้เกิดโรคทางตาสูง
  • ตาถูกแสงแดดจัดเรื้อรัง เช่น เกษตรกร  หรือการมองแสงจ้าตลอดเวลา เช่น ช่างเชื่อมโลหะ
  • ขาดอาการ กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขาดวิตามิน A
  • มีคนในของครอบมีโรคทางตา
  • มีโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน
  • สูบบุหรี่ รวมทั้งการได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง (Secondhand Smoke) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสื่อมของจอตา และโรคต้อกระจก

 

อาการของโรคตา

อาการที่สำคัญของโรคตาที่สำคัญ คือ มีความผิดปกติในการมองเห็น เช่น เห็นภาพพร่ามัว  เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นภาพแหว่งไม่เต็มภาพ เห็นภาพซ้อน เห็นภาพแคบลงกว่าเดิม เช่น เห็นเฉพาะแค่ภาพตรงหน้า ไม่สามารถมองเห็นภาพด้านข้างได้ เห็นคล้ายมีจุดหรือแผ่นดำลอยไปมา

นอกจากนี้ อาการอื่นๆที่มักเกิดร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ เช่น

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อต้งใช้สายตา ซึ่งมักเป็นอาการจากสายตาผิดปกติจกาการหักเหของแสง เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หรือเนื้องอกในสมอง
  • ปวดตา เมื่อมีกอนเนือ้ในตา หรือมีสายตาผิดปกติ
  • มีขี้ตา เมื่อเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคริดสีดวงตา หรือมีการระค่ยเคืองเยื้อบุตา เช่นภาวะตาแห้ง
  • หนังตาตก โดยเฉพาะหนังตาตกข้างเดียว อาจเกิดจากเนื้องอกในสมอง 
  • ตาเข/ตาเหล่ ที่ไม่ได้เกิดแต่กำเนิด 
  • อาการจากการอักเสบ เช่น ตาบวม แดง ร้อน ร่วมกับอาการมีไข้

 

รักษาโรคตาอย่างไร

แนวทางการรักษาโรคตา คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตามอาการ

  • การรักษาสาเหตุ ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นกับแตะละสาเหตุ เช่นการใช้แว่นตา หรือคอนเทคเลนส์/เลนส์สัมผัส แก้ไข ปัญหาสายตาผิดปกติที่เกิดจาการหักเหของแสง เช่นสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง การรักษาโรคต้อกระจกด้วยการผ่าตัด หรือด้วยการฝังแก้วตาเทียม
  • การรักษษประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวดตา เป็นต้น

 

การดูแลตนเอง / ควรพบแพทย์หรือไม่

การดูแลตนเองที่สำคัญที่สุดเมื่อเกิดโรคตา คือ เมื่อมีความผิดปกติทางตาโดยเฉพาะการมองเห็น ควรรีบพบจักษุแพทย์เสมอ แต่เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคตาการดูแลตนเอง และการพบแพทย์คือ

  • ปฏิบัติตาแพทม์/จักษุแพทย์ พยาบาลแนะนำให้ถูกต้องครบถ้วน และต้องไม่ขาดยา
  • กินอาหารมีประโยชน์  หมู่ให้ครบในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอสูง
  • รู้จักพักใช้สายตาเมื่อต้องใช้สายตามาก ตามแพทย์/จักษุแพทย์ พยาบาลแนะนำ เช่นการใช้งานคอมพิวเตอร์  
  • ไม่ขยี้ตา
  • สวมใส่แว่นกันแดดชนิดที่ป้องกันแสงยูวี (แสงแดด) ได้อย่างน้อย 90% เมื่อต้องออกนอกบ้าน หรือออกแดดเสมอเพื่อป้องกันตาจากแสงแดดและฝุ่นละออง
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ป้องกันตาติดเชื้อ
  • ป้องกัน รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เพราะสาารพิษในบุหรี่จะส่งผลให้เกิดโรคของหลอดเลือด ซุ่งรวมถึงหลอดเลือดของตาด้วย
  • พบแพทย์/จักษุแพทย์ ตามนัดเสมอ