สายตาเอียง (Astigmatism)

หากมีอาการเหล่านี้ให้สันนิษฐานได้เลยว่าคุณอาจมีสายตาเอียง

  1. มองเห็นเป็นภาพเบลอ

  2. เห็นภาพผิดเพี้ยน หรือผิดรูปผิดร่างจากความเป็นจริง

  3. ปวดตา ตาล้า

  4. ปวดหัว

  5. มองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นไม่ดีในตอนกลางคืน

  6. หากมีสายตาเอียงมากจะมองเห็นภาพซ้อน


สาเหตุของสายตาเอียง
เกิดจากกระจกตามีความโค้งไม่สม่ำเสมอกัน หรือกระจกตามีรูปร่างผิดไปจากปกติ เช่น โค้งเป็นทรงรี หรือรูปไข่
ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือแนวเฉียง ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดหรือผิดเพี้ยนไปจากความจริง เนื่องจากตำแหน่ง
การตกกระทบของแสงเปลี่ยนไป โดยสามารถเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาสายตาสั้นและสายตาเอียงได้ ซึ่งส่วนใหญ่มัก
เป็นมาตั้งแต่กำเนิด


การทดสอบสายตาเอียง
1. การวัดระดับการมองเห็น (Visual Acuity Test) เป็นการวัดความสามารถในการมองเห็นด้วยการให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลข
หรือตัวอักษรบนแผนภูมิสเนลเลน (Snellen Chart) ซึ่งตัวอักษรจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ในแถวถัดลงมา จากนั้นจะทดสอบ
ด้วยภาพเส้นนาฬิกา(clock dial chart) เพื่อหาองศาและกำลังสายตาเอียงเบื้องต้น และทำการตรวจเช็คอีกครั้งด้วยการ
ให้ผู้ถูกทดสอบเปรียบเทียบภาพกลุ่มจุด(dot chart) 2 ภาพ แล้วปรับหาองศาหรือกำลังสายตาเอียงที่แม่นยำที่สุดจาก
คำตอบของผู้ถูกทดสอบ



2. การวัดค่าความโค้งของกระจกตา (Keratometer Test) แพทย์จะใช้เครื่องเคอราโตมิเตอร์ (Keratometer) ส่องไฟไปที่
กระจกตาเครื่องจะวัดระดับความโค้งของกระจกตาจากแสงสะท้อนที่ตกกระทบบริเวณกระจกตา
การรักษาสายตาเอียง
ใช้เลนส์ทรงกระบอก เพื่อหักเหแสงให้ภาพคมชัด
ในรายที่มีสายตาเอียงไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่ถ้าสายตาเอียงมากจนตามัวให้รักษาด้วยการใส่แว่นชนิดเลนส์
ทรงกระบอกที่มีกำลังในแนวใดแนวหนึ่ง เพื่อแก้ไขความโค้งที่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
ผู้ที่มีสายตาเอียงไม่ควรใช้เลนส์แว่นตาที่มีคุณภาพต่ำ เพราะจะทำให้ใส่ไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเหลือบมองภาพทางด้านข้าง
ก่อนการซื้อควรสอบถามเงื่อนไขการรับประกันคุณภาพให้ชัดเจนก่อนเสมอ ส่วนในผู้ที่มีสายตาเอียงเกินกว่า -2.00D ควรพิจารณา
เลือกใช้เลนส์แว่นตาที่มีคุณภาพสูง

การผ่าตัด แก้ไขสายตาที่ใช้รักษาสายตาเอียง
เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้แว่นสายตาและคอนแทคเลนส์อีกต่อไป หรือลดความจำเป็นในการใช้แว่นสายตา
และคอนแทคเลนส์ลงไป โดยแพทย์จะต้องทำการผ่าตัดปรับเปลี่ยนรูปร่างและความโค้งของกระจกตา เพื่อให้แสงตกกระทบบนจอตา
และทำให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น ได้แก่
เลสิก (Laser-Assisted In Situ Keratomileusis: LASIK) แพทย์จะผ่าตัดนำเนื้อเยื่อในเลนส์กระจกตาออกมา แล้วใช้เลเซอร์ปรับ
แต่งให้ได้รูปร่างและส่วนโค้งที่เหมาะสม แล้วใส่กลับเข้าไปในตำแหน่งเดิม
พีอาร์เค (Photorefractive Keratectomy: PRK) เป็นวิธีที่แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาออกไป เพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณ
นั้นเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่และเกิดเป็นรูปร่างใหม่ โดยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษที่มีออกซิเจนผ่านสูงเป็นเวลา 2-3 วัน

เราแนะนำให้คุณทำความคุ้นเคยกับเว็บไซต์ที่น่าสนใจ Poki.com games